วันศุกร์ที่ 2 พฤศจิกายน พ.ศ. 2550

วันอาทิตย์ที่ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2550

อาจารย์วิวรรธ์ จันทร์เทพ








ประติมากรรมสมัยใด ที่สร้างขึ้นโดยฝีมือช่างไทยครั้งแรก
ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน
ประติมากรรมไทยสมัยเชียงแสน เป็นประติมากรรมในดินแดนสุวรรณภูมิที่นับว่าสร้างขึ้นโดยฝีมือช่างไทยเป็นครั้งแรก เกิดขึ้นราวพุทธศตวรรษที่ 16-21 มีปรากฏแพร่หลายอยู่ตามหัวเมืองต่าง ๆ ทางภาคเหนือของไทย แหล่งสำคัญอยู่ที่เมืองเชียงแสน วัสดุที ่นำมาสร้างงานปร ะติมากรรมที่ทั้งปูนปั้นและโลหะต่าง ๆ ที่มีค่าจนถึงทองคำบริสุทธิ์ ประติมากรรมเชียงแสนแบ่งได้เป็น 2 ยุค คือ
เชียงแสนยุคแรก มีทั้งการสร้างพระพุทธรูปและภาพพระโพธิสัตว์ หรือเทวดาประดับศิลปสถาน พระพุทธรูปโดยส่วนรวมมีพุทธลักษณะคล้า ยพระพุทธรูปอินเดียสมัยราชวงปาละ มีพระวรกายอวบอ้วน พระพักตร์กลมคล้ายผลมะตูม พระขนงโก่ง พระนาสิกโค้งงุ้ม พระโอษฐ์แคบเล็ก พระห นุเป็นปม พระรัศมีเหนือเกตุมาลาเป็นต่อมกลม ไม่นิยมทำไรพระสก เส้นพระสกขมวดเกษาใหญ่ พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้น ตรงปลายมีลักษ ณะเป็นชายธงม้วนเข้าหากัน เรียกว่า เขี้ยวตะขาบ ส่วนใหญ่นั่งขัดสมาธิเพชร ปางมารวิชัยฐานที่รององค์ พระทำเป็นกลีบบัวประดับ มี ทั้งบัวคว่ำ บัวหงาย และทำเป็นฐานเป็นเขียงไม่มีบัวรองรับ ส่วนงานปั้นพระโพธิสัตว์ประดับเจดีย์วัดกู่เต้า และภาพเทวดาประดับหอไตรวัดพระสิงห์ เชียงใหม่ มีสัดส่วนของร่างกาย สะโอดสะองใบหน้ายาวรูปไข่ ทรงเครื่องอาภรณ์เช่นเดียวกับพระโพธิสัตว์ในศิลปะแบบปาละเสนะของอินเดียหรือแบบ ศรีวิชัย
เชียงแสนยุคหลัง มีการสร้างพระพุทธรูปที่มีแบบของลัทธิลังกาวงศ์ จากสุโขทัยเข้ามาปะปนรูปลักษณะโดยส่วนรวมสะโอดสะ องขึ้น ไม่อวบอ้วนบึกบึน พระพักตร์ยาวเป็นรูปไข่มากขึ้น พระรัศมีทำเป็นรูปเปลว พระศกทำเป็นเส้นละเอียดและมีไรพระศกเป็น เส้นบาง ๆ ชายสังฆาฏิ ยาวลงมาจรดพระนาภี พระพุทธรูปโดยส่วนรวมนั่งขัดสมาธิราบ พระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดและถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุดถือเป็นแบบอย่างของพระพุทธรูปที่นับว่าสวยที่สุด พระพุทธสิหิงค์ในพระที่นั่งพุทไธสวรรย์ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ กรุงเทพฯ พระพ ุทธรูปเชียงแสนนี้มักหล่อด้วยโลหะทองคำ และสำริด



สิงห์สังคโลก เครื่องตกแต่งประดับพุทธสถาน พบที่จังหวัดพิษณุโลก ศิลปะสมัยสุโขทัย
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l2.htm

พระศากยสิงห์ พระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสมัยเชียงแสน ประดิษฐานที่พระระเบียงวัดเบญจมบพิตร ดุสิตวนาราม กรุงเทพมหานคร

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l2.htm

อัปสรสีห์

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l2.htm


รูปหล่อโลหะสัตว์หิมพานต์ชนิดต่างๆ

http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l2.htm

อสุรปักษี
http://kanchanapisek.or.th/kp6/BOOK14/chapter3/t14-3-l2.htm

ประติมากรรม


ประติมากรรม เป็นงานศิลปะที่แสดงออกด้วยการปั้น แกะสลัก หล่อ และการจัดองค์ประกอบความงามอื่น ลงบนสื่อต่างๆ เช่น ไม้ หิน โลหะ สัมฤทธิ์ ฯลฯ เพื่อให้เกิดรูปทรง 3 มิติ มีความลึกหรือนูนหนา ประติกรรมเป็นแขนงหนึ่งของทัศนศิลป์ ผู้้ทำงานประติมากรรม มักเรียกว่า ประติมากร
งานประติมากรรมที่เกี่ยวกับศาสนามักสะกดให้แตกต่างออกไปว่า ปฏิมากรรม ผู้ที่สร้างงานปฏิมากรรม เรียกว่า ปฏิมากร
งานประติมากรรม แบ่งเป็น 3 ประเภท ตามมิติของกความลึก ได้แก่
ประติมากรรมนูนต่ำ
ประติมากรรมนูนสูง
ประติมากรรมลอยตัว
นอกจากนี้ยังมีประติมากรรมโมบาย ที่แขวนลอยและเคลื่อนไหวได้ และประติมากรรมติดตั้งชั่วคราวกลางแจ้ง (Installation Art)

วันศุกร์ที่ 5 ตุลาคม พ.ศ. 2550

somluk



นางสาวสมลักษณ์ แสงกลับ

อายุ 51 ปี โรงพยาบาลพระจอมเกล้า
จังหวัดเพชรบุรี


แผนกศัลยกรรมกระดูก จบพยาบาลเทคนิคจากวิทยาลัยพยาบาลกรุงเทพ
เมื่อปีพ.ศ.2535


ตอบคำถามสุนทรียศาสตร์

สุนทรียศาสตร์ คือ วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม

1.สุนทรียศาสตร์มาจากภาษาสันสกฤตว่า"สุนทรียะ"แปลว่า งาม และศาสตร์ แปลว่า "วิชา"รวมความแล้วสุนทรียศาสตร์จึงแปลว่า"วิชาที่ว่าด้วยสิ่งสวยงาม"

ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า"เอ็ซทีติก"(Aesthetics)

ประโยชน์ของสุนทรียศาสตร์

1.ช่วยส่งความเจริญทางปัญญาจนสามารถหยั่งเห็นสัจธรรมและคุณค่าของความงาม

2.ช่วยส่งเสริมความเจริญทางด้านอารมณ์ เพราะสามารถควบคุมอารมณ์และส่งเสริมการแสดงออกไปในทางที่ถูกต้องจนสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับสังคมได้อย่างเป็นสุข

3.ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ให้เป็รในทางสร้างสรรค์

4.สามารถแก้ไขบทบาทต่างๆในการดำเนินกิจกรรมทางศิลปะ

ประโยชน์ในวิชาชีพพยาบาล

1.ช่วยส่งเสริมความงดงามภายในจิตใจให้เป็นผู้มีเมตตา เอื้ออาทรต่อผู้ป่วย

2.สามารถปรับอารมณ์ของตนเองให้เป็นผู้ยอมรับอารมณ์ของผู้ป่วยขณะที่เขากำลังเจ็บปวดทุกข์ทรมานทั้งด้านร่างกายและจิตใจ

3.ทำให้เกิดการมองโลกในแง่ดีเสมอ อารมณ์ยิ้มแย้มแจ่มใจตลอดเวลา


อาจารย์ผู้สอน
อาจารย์วิวรรธน์ จันทร์เทพย์

วันพฤหัสบดีที่ 27 กันยายน พ.ศ. 2550